08 ธันวาคม 2559

ชุดคิทเครื่องรับวิทยุ AM รุ่น 2P3

ชุดคิทเครื่องรับวิทยุ AM รุ่น 2P3 ใช้ 3 ทรานซิสเตอร์ + 1 ไอซี 
 เป็นชุดคิทเครื่องรับวิทยุ AM ที่มีคุณภาพดีมากจากจีน 

ราคา 980 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว
(ราคานี้ถูกว่าสั่งจากอีเบย์ หรือ aliexpress แล้ว)

สั่งซื้อคลิกที่นี่





Schematic Diagram

การทำงานของวงจรอย่างคร่าว ๆ

Q1 = เป็น Mixer-oscillator  โดย 1 ทรานซิสเตอร์ ทำงาน 2 หน้าที่คือ ผลิตความถี่ให้สูงกว่าความถี่รับเข้ามา 455 KHz ที่ขา C และนำสัญญาณที่ผลิตได้มาผสมกับสัญญาณที่รับได้จากวงจรสายอากาศผ่านมาทางขา B สัญญาณที่ผสมแล้วจะถูกส่งไปยังขา C และส่งต่อไปยังหม้อแปลง T2 เป็น IF Transformer จูนให้ความถี่ 455 KHz ผ่านไปได้

เพื่อให้การรับสัญญาณดีที่สุด วงจรจูนสายอากาศ (L1, Vc4, Ca) และวงจรกำเนิดความถี่ต้องทำงานสอดคล้องกัน (ดู Vc4 และ Vc3 ) นั่นก็คือไม่ว่าจะหมุนคลื่นไปรับความถี่ใด สองวงจรนี้จะเรโซแนนซ์ที่ความถี่ต่างกัน 455 KHz ตลอดเวลา 

Q2, Q3 = เป็น IF Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ 455 KHz ที่ได้มาจาก Q1 

SFU = เป็น Ceramic Resonator (หรือเรียกว่า Ceramic filter) ถูกนำมาทดแทน IF Transformer ทำหน้าที่กรองสัญญาณให้ความถี่ 455KHz ผ่านไปได้ 

D1 = เป็น  Detector  แยกสัญญาณเสียงออกมาจากสัญญาณวิทยุ และยังมีหน้าที่อีกอย่างคือสร้างแรงดัน AGC เพื่อควบคุมอัตราการขยายสัญญาณของ Q2 

เรื่องแรงดัน AGC พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้ารับสัญญาณได้มีความแรงมาก แรงดันไฟ AGC ที่ R9 จะเป็นลบมากตามไปด้วย ส่งผลให้อัตราการขยายสัญญาณของ Q2 ลดลง

ในทางกลับกันถ้ารับสัญญาณได้อ่อน ๆ แรงดันไฟ AGC ที่ R9 จะเป็นลบน้อยลง ส่งผลให้อัตราการขยายสัญญาณของ Q2 เพิ่มขึ้น

ข้อดีของวงจร AGC ก็คือ รักษาระดับสัญญาณเสียงที่ออกมาให้คงที่ ไม่ดังหรือเบาจนเกินไป

IC1 = ภาคขยายเสียง
 



ข้อควรคำนึงในการใช้วิทยุ AM

  •  วิทยุ AM ออกอากาศด้วยความถี่ที่ค่อนข้างต่ำ ถูกรบกวนจากระบบไฟฟ้าในบ้านได้ง่าย ถ้าอยากจะรับสัญญาณดี ๆ ควรรับสัญญาณให้ห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้า 
  • ด้วยคุณสมบัติของคลื่นความถี่ AM ซึ่งอยู่ในย่าน MF (medium wave) ช่วงความถี่แถว ๆ นี้จะรับสัญญาณได้ดีมากในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะรับสัญญาณทางไกลไม่ได้ รับได้เฉพาะสัญญาณจากจังหวัดของตนเองหรือใกล้เคียงเท่านั้น 
  • ในเวลากลางคืน ถึงแม้จะรับสัญญาณได้ดีแล้ว แต่ถ้าต้องการให้ดีกว่านั้นสามารถทำสายอากาศภาพนอกได้ เช่น สายอากาศแบบ Loop เป็นต้น จะช่วยให้รับสัญญาณได้เพิ่มอีกเป็นเท่าตัว







การประกอบวงจร อย่ามลืมบัดกรี 3 ชุดนี้นะครับ 


การปรับแต่ง 

 Ca = ปรับแต่งความไวในการรับ ให้สามารถรับสัญญาณอ่อน ๆ ได้ดีขึ้น
Cb = ปรับแต่งความถี่ในวงจร OSC.
T1 = ปรับแต่งความถี่ในวงจร OSC.
T2, T3 = ปรับแต่งให้สัญญาณเสียงที่ได้มีความแรง เป็นเป็นธรรมชาติที่สุด  

 เพื่อความแม่นยำในการปรับแต่ง  T2 และ T3 ให้ใช้โวลต์มิเตอร์ วัดแรงดันสองจุดในรูป (ดูสายบวกและลบให้เหมือนในรูป) ปรับ T2 และ T3 สลับกันไปจนอ่านค่าแรงดันได้สูงสุด
 


ตัวอย่างการใช้สายอากาศภายนอกเพื่อให้รับสัญญาณทางไกลได้ดีขึ้น