11 พฤศจิกายน 2559

เครื่องส่ง FM / ไมค์ลอย 3 ทรานซิสเตอร์

สำหรับชุดคิทชุดนี้ มี 2 แบบทั้งชุดคิท และชุดที่บัดกรีแล้ว
ขายในราคาเดียวกันคือ

1 ชุดราคาชุดละ 280 บาท
 2-5 ชุดราคาชุดละ 245 บาท
6-10 ชุดราคาชุดละ 230 บาท
10 ชุดขึ้นไป ชุดละ 215 บาท (โปรดสอบถามอีกครั้ง)

ราคานี้รวมค่าจัดส่งแล้ว

* สำหรับวิทยาลัยเทคนิคที่ต้องการจำนวนมาก กรุณาแจ้งล่วงหน้านะครับ


เครื่องส่ง FM ระยะใกล้ ๆ ในบริเวณบ้าน สามารถเลือกสัญญาณได้ 2 ทางคือไมโครโฟนในตัวหรือจะเป็นสัญญาณจากภายนอกเช่น mp3 คอมพิวเตอร์ สามารถปรับความถี่ได้ 76-110 MHz โดยจูนที่สลักจูน 

- แรงดันไฟเลี้ยง 3-12 โวลต์ 
- การปรับความถี่ทำได้โดยการปรับที่ L4 (ถ้า L4มีค่ามาก ความถี่ที่ออกมาจะต่ำลง ถ้าจะดัดแปลงความถี่ให้ต่างจากนี้ ให้เปลี่ยน C 12 ร่วมด้วย ใช้ C แบบ NP0 เท่านั้น) 
- เป็นเครื่องส่งแบบโนโน
-ถ้าต้องการใช้ไมโครโฟนในตัวเครื่องให้ถอดแจ็คหูฟัง (input) ออก














การทำงานของวงจรอย่างคร่าว ๆ

Q1 ทำหน้าที่เป็นปรีไมค์ 
Q2 เป็นวงจร กำเนิดความถี่และผสมความถี่แบบ FM (fm modulator) ในตัวเดียวกัน 
Q3 เป็น RF Amp 

Q1 เป็นปรีไมค์โดยวงจรนี้จะใช้ไมค์แบบ condenser ไมค์แบบนี้จะต้องมีแรงดันไฟ bias ถึงจะทำงานได้ (จำเป็นต้องต่อให้ถูกขั้วด้วย) แรงดันส่วนนี้ก็คือแรงดันจากไฟเลี้ยงส่งผ่านมาทาง R1 สัญญาณจากไมค์ที่ถูกขยายแล้วจะถูกส่งออกทางขา C ของ Q1 ไปรอที่แจ็คหูฟัง

แจ็คตัวนี้จะมีประโยชน์ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือรับสัญญาณเสียงจากภายนอก เช่น สัญญาณเสียงจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่น mp3 เป็นต้น ประโยชน์อย่างที่สองก็คือ ใช้เป็นสวิตช์ ตัดต่อระหว่าง ไมโครโฟนภายในตัวเครื่อง และสัญญาณเสียงจากภาคนอก นั่นก็คือ ถ้าถอดแจ็คหูฟังออกสัญญาณจากไมค์ จะถูกส่งออกอากาศ แต่ถ้าต่อแจ็คหูฟังเสียงเพลงจากภายนอกจะถูกส่งออกอากาศแทน

เสียงจากภายนอก เป็นระบบ stereo จะถูกนำมารวมกันโดย R7 และ R10 เป็นสัญญาณแบบโมโน ส่งเข้าที่ขา B ของ Q2 

Q2 เป็นวงจรกำเนิดความถี่แบบ Colpitts Oscillator ความถี่ที่ออกอากาศ ขึ้นอยู่กับค่าของ L4 ,C8,C11,C12,C14 เพื่อความสะดวกในการปรับจูนความถี่ วงจรนี้เลยเลือกปรับแต่งที่ค่า L4 ซึ่งพันบน slug tuned และสิ่งที่สำคัญเพื่อเป็นการลดปัญหา frequency drift C ทั้ง 4 ตัวนี้ต้องเลือกใช้แบบ NP0 

Q2 จะรับสัญญาณเข้าเสียงที่จะมาผสมทางขา B แรงดันที่เปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ค่าค่าความจุในตัวทรานซิสเตอร์ (รอยต่อระหว่างขา B-E) เปลี่ยนแปลง ทำให้ความถี่วงจรกำเนิดความถี่แกว่งไปมาเล็กน้อย ตามหลักการผสมคลื่นแบบ FM

สัญญาณ FM ที่ถูกผสมแล้วจะถูกส่งต่อไปยัง Q3 ผ่านทาง C6 เพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนจะส่งออกอากาศ 

L3,C9,C10 เป็นวงจร Low pass filtter กรองสัญญาณความถี่สูง ซึ่งเราไม่ต้องการให้ลงกราวด์  

การปรับแต่งและการใช้งาน

วงจรนี้เป็นวงจรเครื่องส่งแบบง่าย ๆ การปรับแต่งมีแค่ปรับแต่งความถี่ที่ส่งออกอากาศ โดยการจูนขดลวด L4 แล้ววัดความถี่ที่ออกตรงจุด ANT หรือถ้าไม่มีเครื่องมือวัดให้นำเครื่องรับวิทยุ FM มาวางใกล้ ๆ แล้วจูน L4 จนเครื่องรับ สัญญาณจากเครื่องส่งได้

* การจูน L4 ควรใช้ไขควงที่ไม่ใช่โลหะ  

รายการอุปกรณ์ 

R1 =  10 K
R2 =  2.4K (สำหรับชุดคิทใช้ 2.2 K)
R3 = 100
R4 = 47K
R5 = 47K
R6 = 47K
R7 = 10K
R8 = 47K
R9 = 470
R10 = 10K
R11 = 10K

C1 = 1000pF (102)
C2 = 0.1uF (104)
C3 = 0.1uF (104)
C4 = 1000pF (102)
C5 = 0.1uF (104)
C6 = 100pF (101)
C7 = 27pF (27)
C8 = 30pF (30)
C9 = 100pF (101) **สำหรับชุดคิทของทางร้านจะใช้ C ที่เขียนว่า 100 เลย ยีห้อนี้จะระบุค่า ไม่ได้ระบุเป็น Code โปรดดูรูปประกอบด้านล่าง
C10= 30pF (30)
C11 = 68pF (68)
C12 = 15pF (15)
C13 = บนแผ่น PCB ไม่มี C ตำแหน่งนี้
C14 = 100pF (101)

Q1 = 9014
Q2 = 9018
Q3 = 9018

L1 = 6.5 T
L2 = 6.5 T
L3 = 4.5 T 
L4 = 7.5 T (ปรับค่าได้)

MK1 = Mic (โปรดดูขั้วบวก - ลบด้วย)
DS1 = LED 3 mm.
 



วัดค่า C 100 = 100pF