13 ธันวาคม 2559

ชุดคิทวิทยุ รับ - ส่ง เพื่อการทดลอง

ชุดคิทวิทยุ รับ - ส่ง เพื่อการทดลองของสถาบันการศึกษา


ความถี่ในการรับส่ง 40.7 MHz ระบบ FM
ใช้กับแรงดัน 6 โวลต์ 
สามารถปรับระดับเสียงและ SQL. ได้ 
ระยะทางการรับส่ง ทดลองโดยใช้สายไฟยาวประมาณ 1 เมตรไฟสายอากาศสามารถรับส่งกันได้ ประมาณ 100 เมตรในที่โล่ง

สั่งซื้อคลิกที่นี่ 





 ภาครับ
 Schematic ภาครับ


 ภาครับเมื่อประกอบแล้ว

 การทำงานของภาครับอย่างคร่าว ๆ 

เริ่มต้นจากสัญญาณวิทยุเข้ามาทางสายอากาศ ผ่านหม้อแปลงจูนความถี่ T1 ทำหน้าที่เลือกรับความถี่ 40.7 MHz สัญญาณที่ออกจากหม้อแปลงจะถูกขยายที่ VT1 และ VT2 ทำหน้าที่เป็น RF Preamp เพื่อให้เครื่องรับของเราสามารถรับสัญญาณอ่อน ๆ ได้ดียิ่งขึ้น สัญญาณที่ขยายแล้วจะถูกส่งไปยัง IC เบอร์ MC3362 โดยผ่านหม้อแปลง T2   

MC3362  เป็น IC ภาครับ FM แบบ Narrowband FM Receiver ใช้สำหรับวิทยุสื่อสารโดยเฉพาะ มีการแปลงความถี่ IF ถึงสองครั้ง (Double conversion receiver) เพื่อให้เครื่องรับมี Selectivity ที่ดี โดยครั้งแรกจะรับสัญญาณ 40.7 MHz เขามาลบกับความถี่ 30 MHz ที่ทรานซิสเตอร์ตำแหน่ง VT3 ผลิตขึ้นมา ได้เป็นความถี่ IF 10.7 MHz ออกมา หลังจากนั้นจากนั้นจะแปลงความถี่ IF อีกครั้ง โดยนำความถี่ IF ที่ 1 มาหักลบกับความถี่ 10.245 MHz ที่กำเนิดขึ้นโดย IC (ขา 3,4) จะได้ความถี่ใหม่ขึ้นมาเป็นความถี่ IF ที่ 2 มีค่าเท่ากับ 455 KHz จากนั้นก็จะถูก Detector ออกมาเป็นสัญญาณเสียง (ขา 13) แต่สัญญาณยังไม่แรงพอที่จะขับลำโพงได้ จึงต้องมีการขยายก่อน โดย IC เบอร์ LM386


 ภาคส่ง


Schematic สำหรับภาคส่ง

การทำงานของภาคส่งอย่างคร่าว ๆ

VT1, VT2 = ทำหน้าที่เป็นปรีไมค์ ขยายสัญญาณจาก Condenser Mic. ให้แรงพอที่จะนำไปใช้งาน
VT3 = ทำหน้าที่ผสมคลื่นแบบ FM โดยใช้ความถี่ จากแร่ Crystal 13.567 MHz จากนั้นจูนเอาเฉพาะ Harmonic ที่ 3 หรือความถี่ 40.7 MHz โดย C9 และ L1 (13.567 X 3 = 40.701 MHz)
VT4 = Driver ขยายสัญญาณขึ้นระดับหนึ่ง ที่ขา C เป็นวงจรจูนความถี่ เช่นเดียวกัน คือ C13 และ L2
VT5 =  RF Power ขยายสัญญาณให้แรงก่อนออกอากาศ
L5,L6,C19,C20,C21 = เป็นวงจร Low pass filter  กรองให้เฉพาะความถี่ที่ต่ำกว่าผ่านไปได้

IC1 = เป็นตัวกำเนิดเสียง ไซเรน กรณีที่เราต้องการส่งเสียงนี้ออกอากาศ (โดยการเลื่อน Switch K1)






ภาคส่งเมื่อประกอบเสร็จแล้ว